การศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำ
เพื่อเสนอทิศทางในการบริหารจัดการศึกษาในอนาคต
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ
เศรษฐกิจ เป็นเรื่องของความพยายามของสังคมในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (economic activities) เพื่อให้เป็นไปโดยประหยัดและมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีเพียงจำกัด แต่เนื่องจากในสังคมแต่ละสังคมมีหน่วยเศรษฐกิจ (economic units) มากมาย นับตั้งแต่ครอบครัว (households) ไปจนถึงหน่วยธุรกิจ (business firms) ต่าง ๆ ดังนั้นสังคมจึงต้องจัดระบบเศรษฐกิจ(Economic system) โดยกำหนดนโยบายและระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้หน่วยเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) ถือปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม
เศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมมนุษย์เป็นสำคัญ เพราะการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จะต้องมีการทำให้ตนเอง ครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน ให้อยู่ได้อย่างเป็นสุขควบคู่กับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัยและสะดวกสบาย
ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันองค์กรทุกแห่งต่างพยายามดิ้นรนหาแนวทางต่าง ๆ ในการประคับประคองและรักษาองค์กรของตนเอง โดยต่างก็พยายามแสวงหาเครื่องมือและแนวทางในการจัดการต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาใช้ ในภาวะที่ทุกองค์กรต่างดิ้นรุนทุกวิถีทางเพื่อประคับประคองตนเองและหาทางรอดในปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่มักจะเกิดขั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องของภาวการณ์แข่งขันในด้านต่าง ๆ ที่รุนแรงขึ้น เศรษฐกิจจึ่งเป็นอีกบริบทหนึ่งที่มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การศึกษากับเศรษฐกิจมีความเกี่ยวข้องกันในลักษณะที่เป็นปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบถึงการศึกษาเช่นกัน และจะเห็นได้ว่า ผลกระทบของวิกฤติทางเศรษฐกิจต่อการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และกระทบคนไทยทุกกลุ่ม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรีบศึกษา ผลกระทบนี้อย่างจริงจังเพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างต่อเนื่องและมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม
ในการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้มุ่งหวัง ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ศึกษาถึงบริบทด้านเศรษฐกิจ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่จะมากระทบต่อระบบการศึกษาของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำในอนาคต
การวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนนั้น ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เรื่องการผลิตในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ประชากรในชุมชนบ้านท่าสองยางทำการทำนา ทำไร่ และรับบริการแหล่งเงินทุนมาจากการกู้เงินจากธนาคารการเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร การดำเนินการทางธุรกิจจะเป็นการผลิตตามแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาจากประสบการณ์ของครอบครัว การใช้แรงงานในการผลิตของชุมชนจะใช้แรงงานสหกรณ์การเกษตร การดำเนินการทางธุรกิจจะเป็นการผลิตตามแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาจากประสบการณ์ของครอบครัว การใช้แรงงานในการผลิตของชุมชนจะใช้แรงงานชุมชนและสมาชิกในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และเป็นการใช้แรงงานเอาแรง หรือลงแขกในการทำงานไม่มีค่าจ้าง ในด้านความรู้ในด้านเทคโนโลยี่และการคิดคำนวณในการผลิตยังต้องพัฒนาในด้านการศึกษาอีกมากเพื่อการเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาปรับปรุงเพื่อการเพิ่มคุณค่าทางด้านการผลิตเพื่อได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนสู่มืออาชีพแบบพึ่งพาธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดควบคู่กับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและมีรายได้ตามความเหมาะสมกับสภาพของชุมชนโดยมีวัตถุดิบในการผลิตมาจากชุมชน ลดต้นทุนการผลิตและเพื่อการผลิตที่มีประโยชน์และคุ้มค่า
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำ
2. เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มทางการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทด้านเศรษฐกิจ
ขอบเขตการวิจัย
ในการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาไว้ดังนี้
แหล่งข้อมูล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากการสัมภาษณ์
ขอบเขตเนื้อหา
1. เศรษฐกิจของประเทศจากการจัดเก็บภาษีของประชาชน
2. เศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้ของประเทศ
- กระแสรายได้ หรือระบบการเงิน จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ
- การออมของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
- สภาพทางการเงินหรือสถาบันทางการเงิน
3. การประกอบอาชีพของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
4. บริบททางด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย
- การผลิตในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
- การกระจายผลผลิต การจำหน่าย การค้าขาย
- การบริโภคอย่างคุ้มค่าและตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวแปร
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ บริบททางด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำ
ตัวแปรตาม ได้แก่ แนวโน้มทิศทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำ
ระยะเวลาที่ศึกษา (16 พฤษภาคม - ตุลาคม 2552)
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไปนี้ คือ
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 2 ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
2. โรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำได้ประยุกต์ใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการศึกษา
3. ผู้บริหารโรงเรียนนำไปกำหนดเป็นแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
นิยามศัพท์เฉพาะ
โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำ
ครู หมายถึง ครูโรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำ
ชุมชน หมายถึง ชุมชนหมู่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ
กำนัน หมายถึง กำนันตำบลแม่ต้าน
ผู้ใหญ่บ้าน หมายถึง ผู้ใหญ่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ
บทที่ 3
การศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
เพื่อการเสนอทิศทางในการบริหารจัดการศึกษาในอนาคต
ความเป็นมาและความสำคัญ
เศรษฐกิจ เป็นเรื่องของความพยายามของสังคมในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (economic activities) เพื่อให้เป็นไปโดยประหยัดและมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีเพียงจำกัด แต่เนื่องจากในสังคมแต่ละสังคมมีหน่วยเศรษฐกิจ (economic units) มากมาย นับตั้งแต่ครอบครัว (households) ไปจนถึงหน่วยธุรกิจ (business firms) ต่าง ๆ ดังนั้นสังคมจึงต้องจัดระบบเศรษฐกิจ(Economic system) โดยกำหนดนโยบายและระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้หน่วยเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) ถือปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม
เศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมมนุษย์เป็นสำคัญ เพราะการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จะต้องมีการทำให้ตนเอง ครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน ให้อยู่ได้อย่างเป็นสุขควบคู่กับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัยและสะดวกสบาย
ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันองค์กรทุกแห่งต่างพยายามดิ้นรนหาแนวทางต่าง ๆ ในการประคับประคองและรักษาองค์กรของตนเอง โดยต่างก็พยายามแสวงหาเครื่องมือและแนวทางในการจัดการต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาใช้ ในภาวะที่ทุกองค์กรต่างดิ้นรุนทุกวิถีทางเพื่อประคับประคองตนเองและหาทางรอดในปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่มักจะเกิดขั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องของภาวการณ์แข่งขันในด้านต่าง ๆ ที่รุนแรงขึ้น เศรษฐกิจจึ่งเป็นอีกบริบทหนึ่งที่มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การศึกษากับเศรษฐกิจมีความเกี่ยวข้องกันในลักษณะที่เป็นปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบถึงการศึกษาเช่นกัน และจะเห็นได้ว่า ผลกระทบของวิกฤติทางเศรษฐกิจต่อการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และกระทบคนไทยทุกกลุ่ม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรีบศึกษา ผลกระทบนี้อย่างจริงจังเพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างต่อเนื่องและมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม
ในการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านท่าสองยางในครั้งนี้มุ่งหวัง ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ศึกษาถึงบริบทด้านเศรษฐกิจ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่จะมากระทบต่อระบบการศึกษาของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำในอนาคต
การวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนนั้น ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เรื่องการผลิตในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ประชากรในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำทำการทำนา ทำไร่ และรับบริการแหล่งเงินทุนมาจากการกู้เงินจากธนาคารการเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร การดำเนินการทางธุรกิจจะเป็นการผลิตตามแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาจากประสบการณ์ของครอบครัว การใช้แรงงานในการผลิตของชุมชนจะใช้แรงงานชุมชนและสมาชิกในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และเป็นการใช้แรงงานเอาแรง หรือลงแขกในการทำงานไม่มีค่าจ้าง ในด้านความรู้ในด้านเทคโนโลยีและการคิดคำนวณในการผลิตยังต้องพัฒนาในด้านการศึกษาอีกมากเพื่อการเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาปรับปรุงเพื่อการเพิ่มคุณค่าทางด้านการผลิตเพื่อได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนสู่มืออาชีพแบบพึ่งพาธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดควบคู่กับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและมีรายได้ตามความเหมาะสมกับสภาพของชุมชนโดยมีวัตถุดิบในการผลิตมาจากชุมชน ลดต้นทุนการผลิตและเพื่อการผลิตที่มีประโยชน์และคุ้มค่า
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. เพื่อศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
4. เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มทางการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทด้านเศรษฐกิจ
ขอบเขตการวิจัย
ในการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของบ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาไว้ดังนี้
แหล่งข้อมูล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากการสัมภาษณ์ และการใช้แบบสำรวจข้อมูล
ขอบเขตเนื้อหา
1. เศรษฐกิจของประเทศจากการจัดเก็บภาษีของประชาชน
2. เศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้ของประเทศ
- กระแสรายได้ หรือระบบการเงิน จัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
- การออมของชุมชน
- สภาพทางการเงินหรือสถาบันทางการเงิน
3. การประกอบอาชีพของชุมชน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เลี้ยงสัตว์ การหาของป่า
4. บริบททางด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย
- การผลิตในชุมชนมีองค์ประกอบด้วยที่ดิน ในชุมชนบ้านแม่อุสุมีที่ที่เหมาะกับการดำเนินการผลิตทางการเกษตร การทำนา ทำไร่ มีการใช้แหล่งเงินได้อย่างเป็นระบบมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการขนส่งสินค้า เพื่อขนส่งไปจำหน่ายได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อการเปลี่ยนแปลงใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม
- การกระจายผลผลิต การจำหน่าย การค้าขายมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าคนกลาง และมีการค้าขายผลผลิตของตนเอง มีการใช้การประชาสัมพันธ์และการโฆษณามาใช้ในเพิ่มคุณค่าสินค้าของตนเอง
- การบริโภคอย่างคุ้มค่าและตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตใช้ผลผลิตของตนเองเพื่อให้ครอบครัวได้มีรายได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่และเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นได้อย่างคุ้มค่าควบคู่กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ตัวแปร
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ บริบททางด้านเศรษฐกิจของบ้านทุ่งถ้ำ ประชากรส่วนใหญ่ทำนาข้าว เป็นหลักในการบริโภคและส่วนที่เหลือจากการบริโภคถึงจะทำไปขายให้กับพ่อค้าคนกลาง และส่วนหนึ่งประชากรทำพืชไร่เป็นการเสริมรายได้นอกเหนือจากฤดูการทำนา คือ การทำไร่ข้าวโพดเพื่อธุรกิจในการทำอาหารสัตว์ ทำไร่อ้อย ทำไร่ถั่วเหลือง ถั่วเขียว การหาหน่อไม้ในการผลิตหน่อไม้อัด ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ และรับจ้างทั่วไป
ตัวแปรตาม ได้แก่ แนวโน้มทิศทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของบ้านทุ่งถ้ำ จากการที่ประชากรมีรายได้ในการการเกษตรและหารายได้จากการหาของป่ามาเสริมรายได้ให้กับครอบครัวส่งผลให้ประชากรให้ความสำคัญต่อการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ให้กับตนเองและบุตรหลานและส่งเสริมให้ชุมชนมีการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนได้ครบตามสิทธิและเกณฑ์การเข้าเรียนในโรงเรียนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจของชุมชนมีผลเอื้อต่อการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับชุมชน โดยดำเนินออกแบบการสัมภาษณ์ประชากรในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ และออกแบบการสำรวจการประกอบอาชีพในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ ทุกครัวเรือนเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างทุกต้องแม่นตรงตามบริบทของเศรษฐกิจในสภาพปัจจุบัน
ระยะเวลาที่ศึกษา (16 พฤษภาคม - ตุลาคม 2552)
ขั้นตอนที่ 1 เก็บข้อมูลด้วยการออกแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของประชากรในชุมชน
บ้านทุ่งถ้ำ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวบุคคล ครอบครัว และสมาชิกในชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบสำรวจเกี่ยวการประกอบอาชีพของประชากรในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
ขั้นตอนที่ 3 รวบรวมข้อมูลและวางแผนในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ ที่ประสบและเกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไปนี้ คือ
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 2 ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
2. โรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำได้ประยุกต์ใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการศึกษา
3. ผู้บริหารโรงเรียนนำไปกำหนดเป็นแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
นิยามศัพท์เฉพาะ
โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำ
ครู หมายถึง ครูโรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำ
ชุมชน หมายถึง ชุมชนหมู่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ
กำนัน หมายถึง กำนันตำบลแม่ต้าน
ผู้ใหญ่บ้าน หมายถึง ผู้ใหญ่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ
วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ประชาสัมพันธ์โรงเรียนและชุมชนติดต่อข่าวสารบ้านเมืองให้ทราบโดยทั่วถึง
ตอบลบ