วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

ข้อคิดคำคมเตือนใจ

ข้อคิดคำคมเตือนใจ

สิ่งที่ร่ำรวยที่สุดในชีวิต คือสุขภาพที่แข็งแรง
บาปกรรมใหญ่หลวงของชีวิต คือความกตัญญู
ความโง่เขลาที่สุดของชีวิต คือติดยาเสพติด
ความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในชีวิต คือการทะนงตน
ของกำนัลที่มีค่าที่สุดของชีวิต คือการให้อภัย

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

ครูคือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

ครูคือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
หนึ่งปีก่อนการประกาศเริ่มต้นยุคสารสนเทศ (information age) อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2533 ผู้เขียนเสนอบทความเรื่อง ครูคือใครในยุคสารนิเทศ (รสสุคนธ์ มกรมณี, 2532) ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการใช้คำว่าสารสนเทศ เพื่อให้มุมมองว่าครูควรเตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากผลกระทบของเทคโนโลยีต่างๆ โดยเปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการเรียนการสอนจากการสอนแบบผู้ส่งสารไปเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ซึ่งมีบทบาทหลัก 4 ประการคือเป็นผู้วางแผน ผู้จัดการ ที่ปรึกษา และบุคคลตัวอย่างในการดำเนินงานจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียน และอีกสิบปีต่อมาได้เสนอบทความเรื่อง ครูกับทศวรรษของยุคสารสนเทศ (รสสุคนธ์ มกรมณี, 2543) เพื่อยืนยันแนวคิดที่เคยเสนอไว้ เพราะสภาพความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ จากทั่วโลก ปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการศึกษา เกิดรูปแบบการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือให้ความรู้อย่างมากมาย อาทิ การศึกษาทางไกลผ่านระบบอินเตอร์เนต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนรู้แบบ e-learning ฯลฯ ซึ่งผู้เขียนในฐานะนักเทคโนโลยีการศึกษาก็มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ จนเริ่มมองเห็นว่าเครื่องจักรกลสามารถแสดงบทบาทการสอนแทนครูได้ และความจำเป็นที่ต้องมีครูลดน้อยลงไป หากครูทั้งหลายยังแสดงบทบาทของตนเป็นเพียงเป็นผู้บรรยายหรือทำการสอนด้วยวิธีการบรรยายเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศไทยประกาศเป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทยใน พ.ศ. 2538 เพื่อสร้างวิสัยทัศน์และนโยบายที่เป็นรูปธรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับชาติ มีการเสนอประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ความสำเร็จของยุคสารสนเทศอยู่ที่ความสามารถในการสร้างคนให้เป็นคนที่มีจิตวิญญาณแห่งการยกย่องนับถือผู้อื่นและรักผู้อื่น (ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี, 2538) และเป็นประเด็นที่ผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การพัฒนาคนให้เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คือเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และจะทำได้ต้องใช้ฝีมือของมนุษย์เท่านั้น ไม่ใช่เครื่องจักรกล ครูคือผู้มีบทบาทสำคัญต่อภารกิจนี้ และต้องทำการสอนหรือให้การศึกษาอบรมในลักษณะที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการทั้งทางสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจ อย่างเต็มศักยภาพและเป็นองค์รวม
นักการศึกษา อาทิ อมรวิชช์ นาครทรรพ (2539) และ พนม พงษ์ไพบูลย์ (2543) สนับสนุนประเด็นที่ว่าครูควรมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน โดยแสดงความคิดเห็นซึ่งสรุปได้ว่า ในโลกยุคใหม่ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนของครูจึงควรสอดคล้องกับแนวการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก และลักษณะการสอนจะต้องมีความหลากหลาย สอนให้นักเรียนรู้จักคิด คิดเป็น ทำเป็น มีวิจารณญาณของตนเอง โดยครูจะต้องคอยให้คำชี้แนะ บทบาทของครูในอนาคตคือ การสอนวิธีหาความรู้ในโลกแห่งความรู้อันมากมายที่ไม่อาจสอนได้หมด
นอกจากนั้น Ward (1994) ซึ่งให้ความสำคัญต่อการสอนวิธีเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน (learning to learn) ได้กล่าวว่า ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยการความสะดวกในการเรียนรู้ (learning facilitator) มีความรู้ความเข้าใจในระบบพื้นฐานทางกายภาพที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายซึ่งมีความเหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้มีลักษณะจูงใจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากพื้นฐานเดิม และสามารถกำหนดเป้าหมายของตนเองได้ ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจะต้องคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการ และแรงจูงใจ ที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ รู้จักคิด วิเคราะห์ มีส่วนร่วม และรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ยิ่งไปกว่านั้น สภาพปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้น จนจำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษา เป็นเพราะการศึกษาของประเทศเราเน้นที่การถ่ายทอดเนื้อหาในห้องเรียน และการท่องจำจากตำราเป็นส่วนใหญ่ ผู้เรียนขาดประสบการณ์และการศึกษาจากความเป็นจริงรอบตัวทั้งใกล้และไกล การเรียนไม่ได้เน้นวิธีคิด จึงขาดวิจารณญาณว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง (ประเวศ วะสี, 2539) ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการสอนของครู ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเรียนรู้ แต่ประพฤติตนเป็นผู้บอกหรือถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ ทั้งๆ ที่การสอนหมายถึง การจัดสภาพการณ์ จัดสถานการณ์หรือจัดกิจกรรม อันเป็นการวางแผนการที่จะทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนดำเนินไปด้วยความสะดวก รวมทั้งการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ หรือจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีพิธีรีตอง (Good, 1975, หน้า 588) รวมทั้ง ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เกิดความงอกงามในด้านกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดจนความสามารถด้านอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต (สุพิน บุญชูวงศ์, 2544) ดังนั้น การเรียกร้องให้ครูเปลี่ยนแปลงบทบาทจากผู้สอนไปเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้จัดการเรียนรู้ จึงเป็นความพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงประเด็นที่ควรเป็นจุดเน้นในพฤติกรรมการสอนของครู โดยใช้คำว่าการจัดการเรียนรู้แทนคำว่าการสอน ซึ่งเป็นการย้ำเตือนครูให้ตระหนักถึงความหมายของการสอนที่หลงลืมกันไป
อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540) กล่าวถึงลักษณะการสอนที่ดี 13 ประการ ประกอบด้วย การสอนที่มีการเตรียมการสอนมาอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องวัตถุประสงค์ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ตรงตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร มุ่งให้ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เร้าความสนใจผู้เรียน มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ ใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เหมาะสม บรรยากาศเป็นประชาธิปไตย มีกระบวนการที่ดี ใช้หลักการวัดผลและประเมินผลการเรียน และผู้สอนมีความเป็นครู ทั้งนี้ หากคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ การสอนในยุคนี้ (ศักดิ์สิทธิ์ พันธ์เขียว, 2542) ควรมีการจัดสภาพการณ์ที่ให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพทางคอมพิวเตอร์ มีการใช้สื่อประสมและสื่อการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถศึกษาค้นคว้าทางวิชาการได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกสถานที่ ไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน มีการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ได้เรียนรู้จากการทดลอง การฝึกการสังเกต การวิเคราะห์ วิจัย การบันทึก การเสนอผลงาน การอภิปราย การซักถามและการฟัง มีการแสวงหาความรู้ ค้นหาคำตอบจากแหล่งวิชาการต่างๆ ด้วยตนเอง จนกระทั่งมีความรู้อย่างแท้จริง สิ่งที่กล่าวมานี้ ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า การสอนที่ดีจะต้องเน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้
ชนาธิป พรกุล. (2543) สนับสนุนว่า ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เช่นกัน โดยกล่าวถึงบทบาทของครูว่า การจัดการเรียนการสอนที่ครูเคยเป็นศูนย์กลางจะต้องเปลี่ยนมาเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ครูต้องหาทางให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เอง รู้วิธีเรียน และรักที่จะเรียนรู้ ครูจะต้องเปลี่ยนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยรับบทบาทใหม่ดังนี้ 1) ผู้จัดระบบการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่การศึกษาหลักสูตร ตลอดจนวางแผนการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เลือก ผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอนวัดผลและประเมินผล และรวมไปถึงการจัดระเบียบวินัยในชั้นเรียน 2) ผู้จัดบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ด้านกายภาพ ได้แก่ การจัดชั้นเรียน วัสดุอุปกรณ์ แสงสว่าง ระบบเสียงให้นักเรียนรู้สึกสบายและอยากเรียน ส่วนด้านจิตวิทยา ได้แก่ การจัดชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน กล้าคิด กล้าทำ ให้โอกาสผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จทุกคน 3) ผู้ชี้นำหรือแนะแนวทาง เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้โดยการสังเกต การสำรวจ การทดลอง ซึ่งเป็นวิธีการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 4) ผู้สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อพร้อมที่จะเข้าใจ ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อให้ผู้ได้เรียนรู้ได้อย่างราบรื่น 5) ผู้เสริมแรง เพื่อให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่ครูต้องการ และเป็นการย้ำให้ผู้เรียนมั่นใจในการกระทำของตนเอง จะได้พัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น โดยเลือกโอกาสในการเสริมแรงให้เหมาะสม 6) ผู้ถามคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด และใช้คำถามเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียน 7) ผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ เมื่อผู้เรียนลงมือปฏิบัติย่อมต้องการทราบผลการกระทำของตน

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ทรัพยากรป่าไม้

ทรัพยากรป่าไม้
ทรัพยากรป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จัดเป็นประเภทใช้แล้วไม่หมดไปและสามารถทดแทนได้ (renewable resources) แต่ในสภาพความเป็นจริงปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยและจัดว่าเป็นปัญหาที่วิกฤต คือ เรื่องการลดลงของทรัพยากรป่าไม้ ทั้งในเรื่องพื้นที่และคุณภาพของทรัพยากรป่าไม้ ในสมัยโลกาภิวัฒน์นี้ ปัญหาเรื่องการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ มิได้เป็นเพียงปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่กลับเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆในโลกนี้ โดยเฉพาะปัญหากระทบกระเทือนต่อสภาพบรรยากาศของโลก ทั้งนี้เนื่องจากคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ที่ให้ทั้งประโยชน์โดยตรงในเรื่องเนื้อไม้ และประโยชน์ทางอ้อมที่มีคุณค่ามหาศาล ในด้านของการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ เพราะป่าไม้เป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนและแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon sink) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งก๊าซนี้เป็นก๊าซที่สำคัญต่อการเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) ในทางกลับกันหากพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายลงอย่างมากก็จะเป็นแหล่งที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon source)

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

คนมีโชคลาภ

คนมี “ บรมโชค”
“ธรรมะ” จากวัดชลประทานรังสฤษฏ์
1. ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
2. ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง
3. ความรู้จักพอเป็นความร่ำรวยอย่างยิ่ง
4. ความสงบเย็นเป็นความสุขอย่างยิ่ง

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

แนวทางการสร้างมาตรฐานและสร้างวิสัยทัศน์และวิธีการ

แนวทางสร้างมาตรฐานต้องศึกษาจากกลยุทธ์ทั้ง 5

กลยุทธ์ที่ 1 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนทุกคน
กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มอัตราการเข้าเรียนในทุกระดับทั้ง เด็กทั่วไป ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ลดอัตรา การออกกลางคัน และพัฒนารูปแบบการให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพสถานศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาของชาติ พัฒนาผู้เรียน สมรรถนะครูและบุคลากรอย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัยและการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาอย่างเต็มตามศักยภาพ
กลยุทธ์ที่ 4 เร่งรัดพัฒนาความพร้อมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้สถานศึกษา เพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ที่ 5 สร้างความเข้มแข็ง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารและจัดการการศึกษา เพื่อรองรับการกระจายอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพบนหลักธรรมาภิบาลในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา



วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำเป็นองค์กรที่จัดการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนในเขตบริการ พร้อมพัฒนาคุณลักษณะและคุณภาพชีวิตผู้เรียนสู่มาตรฐานชาติ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บริบทและแนวโน้มทิศทางการจัดการศึกษาของบ้านทุ่งถ้ำ

การศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำ
เพื่อเสนอทิศทางในการบริหารจัดการศึกษาในอนาคต

บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ

เศรษฐกิจ เป็นเรื่องของความพยายามของสังคมในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (economic activities) เพื่อให้เป็นไปโดยประหยัดและมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีเพียงจำกัด แต่เนื่องจากในสังคมแต่ละสังคมมีหน่วยเศรษฐกิจ (economic units) มากมาย นับตั้งแต่ครอบครัว (households) ไปจนถึงหน่วยธุรกิจ (business firms) ต่าง ๆ ดังนั้นสังคมจึงต้องจัดระบบเศรษฐกิจ(Economic system) โดยกำหนดนโยบายและระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้หน่วยเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) ถือปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม
เศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมมนุษย์เป็นสำคัญ เพราะการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จะต้องมีการทำให้ตนเอง ครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน ให้อยู่ได้อย่างเป็นสุขควบคู่กับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัยและสะดวกสบาย
ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันองค์กรทุกแห่งต่างพยายามดิ้นรนหาแนวทางต่าง ๆ ในการประคับประคองและรักษาองค์กรของตนเอง โดยต่างก็พยายามแสวงหาเครื่องมือและแนวทางในการจัดการต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาใช้ ในภาวะที่ทุกองค์กรต่างดิ้นรุนทุกวิถีทางเพื่อประคับประคองตนเองและหาทางรอดในปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่มักจะเกิดขั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องของภาวการณ์แข่งขันในด้านต่าง ๆ ที่รุนแรงขึ้น เศรษฐกิจจึ่งเป็นอีกบริบทหนึ่งที่มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การศึกษากับเศรษฐกิจมีความเกี่ยวข้องกันในลักษณะที่เป็นปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบถึงการศึกษาเช่นกัน และจะเห็นได้ว่า ผลกระทบของวิกฤติทางเศรษฐกิจต่อการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และกระทบคนไทยทุกกลุ่ม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรีบศึกษา ผลกระทบนี้อย่างจริงจังเพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างต่อเนื่องและมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม
ในการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้มุ่งหวัง ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ศึกษาถึงบริบทด้านเศรษฐกิจ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่จะมากระทบต่อระบบการศึกษาของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำในอนาคต
การวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนนั้น ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เรื่องการผลิตในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ประชากรในชุมชนบ้านท่าสองยางทำการทำนา ทำไร่ และรับบริการแหล่งเงินทุนมาจากการกู้เงินจากธนาคารการเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร การดำเนินการทางธุรกิจจะเป็นการผลิตตามแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาจากประสบการณ์ของครอบครัว การใช้แรงงานในการผลิตของชุมชนจะใช้แรงงานสหกรณ์การเกษตร การดำเนินการทางธุรกิจจะเป็นการผลิตตามแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาจากประสบการณ์ของครอบครัว การใช้แรงงานในการผลิตของชุมชนจะใช้แรงงานชุมชนและสมาชิกในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และเป็นการใช้แรงงานเอาแรง หรือลงแขกในการทำงานไม่มีค่าจ้าง ในด้านความรู้ในด้านเทคโนโลยี่และการคิดคำนวณในการผลิตยังต้องพัฒนาในด้านการศึกษาอีกมากเพื่อการเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาปรับปรุงเพื่อการเพิ่มคุณค่าทางด้านการผลิตเพื่อได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนสู่มืออาชีพแบบพึ่งพาธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดควบคู่กับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและมีรายได้ตามความเหมาะสมกับสภาพของชุมชนโดยมีวัตถุดิบในการผลิตมาจากชุมชน ลดต้นทุนการผลิตและเพื่อการผลิตที่มีประโยชน์และคุ้มค่า
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำ
2. เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มทางการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทด้านเศรษฐกิจ
ขอบเขตการวิจัย
ในการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาไว้ดังนี้
แหล่งข้อมูล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากการสัมภาษณ์
ขอบเขตเนื้อหา
1. เศรษฐกิจของประเทศจากการจัดเก็บภาษีของประชาชน
2. เศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้ของประเทศ
- กระแสรายได้ หรือระบบการเงิน จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ
- การออมของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
- สภาพทางการเงินหรือสถาบันทางการเงิน
3. การประกอบอาชีพของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
4. บริบททางด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย
- การผลิตในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
- การกระจายผลผลิต การจำหน่าย การค้าขาย
- การบริโภคอย่างคุ้มค่าและตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวแปร
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ บริบททางด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำ
ตัวแปรตาม ได้แก่ แนวโน้มทิศทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำ
ระยะเวลาที่ศึกษา (16 พฤษภาคม - ตุลาคม 2552)
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนหมู่บ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไปนี้ คือ
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 2 ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
2. โรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำได้ประยุกต์ใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการศึกษา
3. ผู้บริหารโรงเรียนนำไปกำหนดเป็นแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
นิยามศัพท์เฉพาะ
โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำ
ครู หมายถึง ครูโรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำ
ชุมชน หมายถึง ชุมชนหมู่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ
กำนัน หมายถึง กำนันตำบลแม่ต้าน
ผู้ใหญ่บ้าน หมายถึง ผู้ใหญ่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ

บทที่ 3
การศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
เพื่อการเสนอทิศทางในการบริหารจัดการศึกษาในอนาคต

ความเป็นมาและความสำคัญ

เศรษฐกิจ เป็นเรื่องของความพยายามของสังคมในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (economic activities) เพื่อให้เป็นไปโดยประหยัดและมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีเพียงจำกัด แต่เนื่องจากในสังคมแต่ละสังคมมีหน่วยเศรษฐกิจ (economic units) มากมาย นับตั้งแต่ครอบครัว (households) ไปจนถึงหน่วยธุรกิจ (business firms) ต่าง ๆ ดังนั้นสังคมจึงต้องจัดระบบเศรษฐกิจ(Economic system) โดยกำหนดนโยบายและระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้หน่วยเศรษฐกิจและสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) ถือปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรม
เศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมมนุษย์เป็นสำคัญ เพราะการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จะต้องมีการทำให้ตนเอง ครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน ให้อยู่ได้อย่างเป็นสุขควบคู่กับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัยและสะดวกสบาย
ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันองค์กรทุกแห่งต่างพยายามดิ้นรนหาแนวทางต่าง ๆ ในการประคับประคองและรักษาองค์กรของตนเอง โดยต่างก็พยายามแสวงหาเครื่องมือและแนวทางในการจัดการต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาใช้ ในภาวะที่ทุกองค์กรต่างดิ้นรุนทุกวิถีทางเพื่อประคับประคองตนเองและหาทางรอดในปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่มักจะเกิดขั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องของภาวการณ์แข่งขันในด้านต่าง ๆ ที่รุนแรงขึ้น เศรษฐกิจจึ่งเป็นอีกบริบทหนึ่งที่มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การศึกษากับเศรษฐกิจมีความเกี่ยวข้องกันในลักษณะที่เป็นปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้นปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบถึงการศึกษาเช่นกัน และจะเห็นได้ว่า ผลกระทบของวิกฤติทางเศรษฐกิจต่อการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และกระทบคนไทยทุกกลุ่ม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรีบศึกษา ผลกระทบนี้อย่างจริงจังเพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างต่อเนื่องและมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม
ในการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านท่าสองยางในครั้งนี้มุ่งหวัง ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ศึกษาถึงบริบทด้านเศรษฐกิจ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่จะมากระทบต่อระบบการศึกษาของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำในอนาคต
การวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนนั้น ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เรื่องการผลิตในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ประชากรในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำทำการทำนา ทำไร่ และรับบริการแหล่งเงินทุนมาจากการกู้เงินจากธนาคารการเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร การดำเนินการทางธุรกิจจะเป็นการผลิตตามแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาจากประสบการณ์ของครอบครัว การใช้แรงงานในการผลิตของชุมชนจะใช้แรงงานชุมชนและสมาชิกในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่และเป็นการใช้แรงงานเอาแรง หรือลงแขกในการทำงานไม่มีค่าจ้าง ในด้านความรู้ในด้านเทคโนโลยีและการคิดคำนวณในการผลิตยังต้องพัฒนาในด้านการศึกษาอีกมากเพื่อการเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาปรับปรุงเพื่อการเพิ่มคุณค่าทางด้านการผลิตเพื่อได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนสู่มืออาชีพแบบพึ่งพาธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดควบคู่กับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและมีรายได้ตามความเหมาะสมกับสภาพของชุมชนโดยมีวัตถุดิบในการผลิตมาจากชุมชน ลดต้นทุนการผลิตและเพื่อการผลิตที่มีประโยชน์และคุ้มค่า
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. เพื่อศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
4. เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มทางการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทด้านเศรษฐกิจ
ขอบเขตการวิจัย
ในการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของบ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้ ได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาไว้ดังนี้
แหล่งข้อมูล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากการสัมภาษณ์ และการใช้แบบสำรวจข้อมูล
ขอบเขตเนื้อหา
1. เศรษฐกิจของประเทศจากการจัดเก็บภาษีของประชาชน
2. เศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายได้ของประเทศ
- กระแสรายได้ หรือระบบการเงิน จัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
- การออมของชุมชน
- สภาพทางการเงินหรือสถาบันทางการเงิน
3. การประกอบอาชีพของชุมชน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เลี้ยงสัตว์ การหาของป่า
4. บริบททางด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย
- การผลิตในชุมชนมีองค์ประกอบด้วยที่ดิน ในชุมชนบ้านแม่อุสุมีที่ที่เหมาะกับการดำเนินการผลิตทางการเกษตร การทำนา ทำไร่ มีการใช้แหล่งเงินได้อย่างเป็นระบบมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการขนส่งสินค้า เพื่อขนส่งไปจำหน่ายได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อการเปลี่ยนแปลงใช้เวลาได้อย่างเหมาะสม
- การกระจายผลผลิต การจำหน่าย การค้าขายมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าคนกลาง และมีการค้าขายผลผลิตของตนเอง มีการใช้การประชาสัมพันธ์และการโฆษณามาใช้ในเพิ่มคุณค่าสินค้าของตนเอง
- การบริโภคอย่างคุ้มค่าและตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตใช้ผลผลิตของตนเองเพื่อให้ครอบครัวได้มีรายได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่และเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นได้อย่างคุ้มค่าควบคู่กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ตัวแปร
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ บริบททางด้านเศรษฐกิจของบ้านทุ่งถ้ำ ประชากรส่วนใหญ่ทำนาข้าว เป็นหลักในการบริโภคและส่วนที่เหลือจากการบริโภคถึงจะทำไปขายให้กับพ่อค้าคนกลาง และส่วนหนึ่งประชากรทำพืชไร่เป็นการเสริมรายได้นอกเหนือจากฤดูการทำนา คือ การทำไร่ข้าวโพดเพื่อธุรกิจในการทำอาหารสัตว์ ทำไร่อ้อย ทำไร่ถั่วเหลือง ถั่วเขียว การหาหน่อไม้ในการผลิตหน่อไม้อัด ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ และรับจ้างทั่วไป
ตัวแปรตาม ได้แก่ แนวโน้มทิศทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของบ้านทุ่งถ้ำ จากการที่ประชากรมีรายได้ในการการเกษตรและหารายได้จากการหาของป่ามาเสริมรายได้ให้กับครอบครัวส่งผลให้ประชากรให้ความสำคัญต่อการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ให้กับตนเองและบุตรหลานและส่งเสริมให้ชุมชนมีการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนได้ครบตามสิทธิและเกณฑ์การเข้าเรียนในโรงเรียนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจของชุมชนมีผลเอื้อต่อการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับชุมชน โดยดำเนินออกแบบการสัมภาษณ์ประชากรในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ และออกแบบการสำรวจการประกอบอาชีพในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ ทุกครัวเรือนเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างทุกต้องแม่นตรงตามบริบทของเศรษฐกิจในสภาพปัจจุบัน
ระยะเวลาที่ศึกษา (16 พฤษภาคม - ตุลาคม 2552)
ขั้นตอนที่ 1 เก็บข้อมูลด้วยการออกแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของประชากรในชุมชน
บ้านทุ่งถ้ำ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวบุคคล ครอบครัว และสมาชิกในชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบสำรวจเกี่ยวการประกอบอาชีพของประชากรในชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ
ขั้นตอนที่ 3 รวบรวมข้อมูลและวางแผนในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำ ที่ประสบและเกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านทุ่งถ้ำในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไปนี้ คือ
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 2 ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
2. โรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำได้ประยุกต์ใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการศึกษา
3. ผู้บริหารโรงเรียนนำไปกำหนดเป็นแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
นิยามศัพท์เฉพาะ
โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำ
ครู หมายถึง ครูโรงเรียนบ้านทุ่งถ้ำ
ชุมชน หมายถึง ชุมชนหมู่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ
กำนัน หมายถึง กำนันตำบลแม่ต้าน
ผู้ใหญ่บ้าน หมายถึง ผู้ใหญ่บ้านบ้านทุ่งถ้ำ

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ช้าง



ช้าง จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดลำตัวใหญ่ ขนตามลำตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงายาวเรียก "ช้างพลาย" ถ้าไม่มีงาเรียก "ช้างสีดอ" ตัวเมียเรียก "ช้างพัง"
ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ช้างใช้เวลาในการตั้งครรภ์นานที่สุดในบรรดาสัตว์บกคือ 22 เดือน ช้างแรกเกิดจะมีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม มีอายุขัยประมาณ 50 ถึง 70 ปี ช้างที่มีอายุมากที่สุดที่ได้บันทึกไว้คือ 82 ปี